วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558
เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
         อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสต์ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3  เรขาคณิต
สาระที่4. พีชคณิต
สาระที่5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6. ทักษะและกระบวณการทางคณิตศาสตร์


วิธีการสอน :
- เลขที่22  นำวิจัยมานำเสนอ
- เลขที่1 และ 3 นำเสนอบทความ
           เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
           เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
- เลขที่3 25 และ 26
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
            เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
            เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้:
       - การกล้าแสดงออก
       - การใช้ภาษา
       - การคิดจินตนาการ

การประยุกต์ใช้ :
-เราสามารถนำนิทาน เพลง คำคล้องจอง. เพื่อใช้สอนเด็กให้เด็กได้คิดและจินตนากรได้ อีกทั้งตัวเราก็ได้ทักษะในการคิดคือได้แต่งนิทาน หรือสื่ออื่นจึงเป็นการฝึกฝนตัวเองด้วยคะ

บรรยากาศในการเรียน :
  เพื่อนๆมาน้อย บรรยากาศเงียบเหงา

กาาประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน : มีความรับผิดชอบงานมากขึ้น ไม่วุ่นวาย
อาจารย์ :อาจารย์ใช้น้ำเสียงดี แต่งกายสุภาพ

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8 วันพุธ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558


                                            

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
. วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

1.การสอนแบบโครงการ
                การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
   .   โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussio)สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น
          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย
        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
       เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง
        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน
        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ

วิธีการสอน :
-อาจารย์สอนกิจกรรมการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
- นักศึกษานำเสนอ การสอนแบบโครงการ
-นักศึกษาเลขที่ 21 นำบทความมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
-นักศึกษานำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้:
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น
-การหาความรู้นอกห้องเรียนจากการหากิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์เพื่อการนำเสนอในห้องเรียน.
-การกล้าแสดงออกในการนำเสนอ
-ทักษะการพูด

การประยุกต์ใช้  :
       สามารถนำกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากที่สุดทั้งยังมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก


บรรยากาศในการเรียน :
         วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม    โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย

กาาประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และมีความรับผิดชอบในการหากิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์มานำเสนอ
เพื่อน :เพื่อนมาเรียนน้อยยังไม่มีความกะตือรือร้นหาความรู้เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน
อาจารย์ : อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ทั้งยังให้นักศึกษาได้พูดได้แสดงออกมากขึ้น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างดี


********************************************
เพลง บวก ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ
ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ
ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ
หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ
ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ

      
เพลง เท่ากัน ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา.               ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา.         สองขา ต่างกัน
ช้าง ม้า มี                 สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น.            ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด..........ใบวางอยู่บนกำแพง
*ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือขวด1ใบ
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว.  ปูหนีบที่หัวแม่มือ
                                         
*****************************************