วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15 วันพุธ ที่ 1พฤกษาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 1พฤกษาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
   
   อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายในเนื้อหารายวิชา

*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

*สาระที่ควรเรียนรู้

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

*หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

*ศาสตร์ความรู้ในการบูรณาการ
  1. คณิตศาสตร์                        
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษา
  4. สังคม
  5. ศิลปะ
  6. สุขศึกษา
  7. พลศึกษา

  • คณิตศาสตร์    วิทยาศาสตร์   และภาษา จะพัฒนาเด็กในด้าน สติปัญญา
  • สังคม  จะพัฒนาเด็กในด้าน สังคม  
  • ศิลปะ   จะพัฒนาเด็กในด้าน อารมณ์และจิตใจ
  • สุขศึกษา และพลศึกษา   จะพัฒนาเด็กในด้าน ร่างกาย
                จะเห็นได้ว่าการสอนแบบบูรณาการนั้นจะสามารถพัฒนาเด็กได้อย่างครบองค์รวม คือการ พัฒนาเด็กอย่างรอบด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปํญญา

* การบูรณาการกับ6กิจกรรมหลัก
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมกลางแจ้ง
5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
6.เกมการศึกษา

  • เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง
                   *นิทาน
                   *เพลง
                   *เกม  
                                             (เกมการศึกษา เช่น โดมิโน จับคู่ ภาพตัดต่อ เรียงลำดับ 
                                               เกมรถไฟ เกมความสัมพันธ์สองแกน พื้นฐานการบวก )
                   *คำคล้องจอง
                   *ปริศนาคำทาย
                   *บทบาทสมมุติ
                   *แผนภูมิภาพ
                   *การประกอบอาหาร
                   *กิจวัตรประจำวัน
                   *และอื่นๆ เช่น  การพับกระดาษ  ไปตลาด เป็นต้น


*ขั้นตอนการจัดประสบการณ์
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป

*การประเมิน
     การสังเกตและสนทนานั้นจะใช้แบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการประเมินส่วน ชิ้นงานจะมีเครื่องมือคือแบบประเมิน

 *ครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างไร
         ~สารสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง

*ครอบครัวทำอย่างไร
        ~ สอนลูกนับสิ่งของในบ้าน
        ~หัดบวกเลขทะเบียนรถยนต์
         ~เด็กไปตลาด..ซื้อจ่ายด้วยตนเอง(นับเงินทอน)
        

วิธีการสอน :

-อาจารย์และนักศึกษาระดมความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน


ทักษะที่ได้:

-การระดมความคิด
-อภิปราย
-การถามตอบ

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจและเด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด 


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอภิปรายความรู้
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่ทำให้เข้าใจเนื้อ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2558

มีการเรียนการสอนชดเชย



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :


  • นักศึกษาสรุปประเด็นความรู้

          ประเด็นประเด็นที่อาจารย์สรุปให้





วิธีการสอน :
-ให้นักศึกาาทำแบบประเมินความรู้


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง


การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
          สบาย บรรยากาศดี
กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ : ใช้คำถามที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

นักศึกษาฝึกการสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เรื่อง ปลา
ขั้นนำ
  1. ร้องเพลงปลา (เพลงต้องมีรูปภาพประกอบ)
  2. ถามเด็กว่ามีปลาชนิดใดบ้างในเนื้อเพลง  (ครูเขียนmindmap ตามที่เด็กบอก)
  3. ถามเด็กรู้จักปลาชนิดใดบ้างนอกจากในเนื้อเพลง  (ครูเขียนmindmap ตามที่เด็กบอก)
ขั้นสอน
  1. นำอุปกรณ์มาวางไว้บนโต๊ะ  แล้วถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าในภาชนะนี้มีอะไร..............
  2. ครูหยิบสื่อออกมาพร้อมพูดว่าเป็นอะไร และนำติดบนกระดานหรือวางเรียงบนโต๊ะ
  3. ถามเด็กว่ามีจำนวนเท่าไหร่  (เมื่อเด็กนับเสร็จเขียนจำนวนทั้งหมดลงใต้ตัวเลขตัวสุดท้ายเพื่อบอกจำนวนทั้งหมดและบอกลำดับของตัวเลข)
  4. ให้เด็กแยกกลุ่มปลาต่างชนิด แล้วเปรียบเทียบจำนวน ถามว่ากลุ่มใดมากกว่าน้อยกว่า
  5. หาคำตอบด้วยการจับคู่  1 ต่อ 1 เมื่อกลุ่มใดหมดก่อนอีกกลุ่มหนึ่งแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า และกลุ่มที่เหลือแสดงว่ามากกว่าอีกกลุ่ม
ขั้นสรุป
  1. ถามเด็กจำปลาอะไรได้บ้าง  (ชี้รูปภาพที่เด็กตอบ)
  2. ร้องเพลงอีกรอบ 

วิธีการสอน :


-ให้นักศึกษาฝึกการสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์


ทักษะที่ได้:

-เทคนิกการสอนที่ถูกต้อง
-การใช้คำถามกระตุ้นความคิดของเด็ก


การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
            โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม  มีแสงสว่างพอดี

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง :กล้าแสดงออก ตั้งใจฝึกสอน
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการฝึกสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงไม่ดังและเบามากเกินไป สอนได้เข้าใจง่าย อธิบายอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 วันพุธ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
     
  •    การออกแบบกิจกรรม 
*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

*สาระที่ควรเรียนรู้

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

*หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

*ประสบการณ์สำคัญ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

*ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

*ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

*วิธีการสอน
-มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
-ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

วิธีการสอน :

-นักศึกษาระดมความคิดเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-สรุปความคิดรวบยอดโดยใช้ mindmap


ทักษะที่ได้:

-การระดมความคิด

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด แต่อากาศหนาว (ฝนตก)


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจเขียนแผนการจัดประสบการณ์
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่ทำให้เข้าใจเนื้อหาการเขียนแผนการสอน

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 วันพุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
          1.อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนทำกิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ
โดยมีอุปกรณ์คือ   ไม้  และใช้ดินน้ำมันเปนตัวเชื่อม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ 
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ฃ

         2.ความรู้จากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

วิธีการสอน :

-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
-นักศึกษา นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
- เลขที่ 2 นำเสนอบทความ
- เลขที่ 25 และ 26 นำเสนอโทรทัศน์

ทักษะที่ได้:

-การนำเสนอ กลาแสดงออก
-การอภิปรายถาม ตอบ
-ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์
ในการเรียนการสอนครบการ


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมากขึ้น
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม พร้อมนำเสนอได้ดี
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน


วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558
เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
         อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสต์ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3  เรขาคณิต
สาระที่4. พีชคณิต
สาระที่5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6. ทักษะและกระบวณการทางคณิตศาสตร์


วิธีการสอน :
- เลขที่22  นำวิจัยมานำเสนอ
- เลขที่1 และ 3 นำเสนอบทความ
           เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
           เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
- เลขที่3 25 และ 26
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
            เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
            เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้:
       - การกล้าแสดงออก
       - การใช้ภาษา
       - การคิดจินตนาการ

การประยุกต์ใช้ :
-เราสามารถนำนิทาน เพลง คำคล้องจอง. เพื่อใช้สอนเด็กให้เด็กได้คิดและจินตนากรได้ อีกทั้งตัวเราก็ได้ทักษะในการคิดคือได้แต่งนิทาน หรือสื่ออื่นจึงเป็นการฝึกฝนตัวเองด้วยคะ

บรรยากาศในการเรียน :
  เพื่อนๆมาน้อย บรรยากาศเงียบเหงา

กาาประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน : มีความรับผิดชอบงานมากขึ้น ไม่วุ่นวาย
อาจารย์ :อาจารย์ใช้น้ำเสียงดี แต่งกายสุภาพ