กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน มีดังนี้
สาระที่ ๑ : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนใน ชีวิตจริง
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง
ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ ๒ : การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค ๒.๓ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ ๓ : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลอง
ทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้
สาระที่ ๔: พีชคณิต
มาตรฐาน ค ๔.๑ อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค ๔.๒ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง
ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ ๕ : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค ๕.๒ ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ ๖ : ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๖.๒ มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค ๖.๓ มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค ๖.๔ มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
มาตรฐาน ค ๖.๕ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น