วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4 วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้ทดสอบก่อนเรียน
  1. ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  3. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  4. หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็ฏปฐมวัย
-อาจารย์ได้สอนเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
  • ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
        เด็กเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 และเรียนรู้ของจริง(รูปธรรม) เด็กจะตอบตามที่เห็น
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
               เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกลบ และให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การสังเกต 
  2. การจำแนกประเภท
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การจัดลำดับ
  5. การวัด
  6. การนับ
  7. รูปทรงและขนาด
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
           ใช้สื่อที่เป็นของจริง(รูปธรรม)และน่าสนใจ ให้เด็กได้เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เด็กจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความคิด มีสังคมและรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
และกิจกรรมควรใช้เวลาไม่นาน เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการตามวัย


  • ขั้นตอนการสอน 
  1. ขั้นนำ = ร้องเพลง , คำถาม 
             -  ถามความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน เช่น ในเนื้อเพลงมีผลไม้อะไรบ้าง (ครูบันทึกที่เด้ฏตอบ)

      2.ขั้นสอน =  บูรณาการ

            - ใช้เทคนิคคำถาม เด็กจะได้ทักษะภาษา ได้สังเกต(วิทยาศาสตร์)  ได้คิด และตอบ
            - บทบาทสมมุติ (เด็กรู้จักการเลียนแบบ การปรับตัว)
            - รูปทรง ( คณิตศาสตร์)

      3.ขั้นสรุป = องค์ความรู้

           -เมื่อให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงแล้ว ครูควรจะสรุปองค์ความรู้เพื่อเป็นตะกอนความรู้ให้กับเด็กๆ

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์   จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย  ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย และหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็ฏปฐมวัย
-อาจารย์ยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับวันเกิดเพื่อน 
-นักศึกษาเลขที่ 7- 9 นำโทรทัศน์ครูมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การวิเคาะห์ตัวเลขที่มีอยู่ในเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
    นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจเรื่องเวลา  โดยใช้เกณฑ์หรือสื่ออื่นๆ  และสามารถนำขั้นตอนการสอน มาใช้เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำจริง เรียนรู้จริง

บรรยากาศในการเรียน :


โต๊ะเก้าอี้สะอาด นั่งเป็นระเบียบ  วัสดุอุปกรณ์พร้อม 

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับวันเกิดเพื่อน มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้ และอาจารย์มีความรู้ความสามารถ สามารถประยุกต์สอนนักศึกษากับเหตุการณ์ ณ  ปัจจุบันได้อย่างเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  ทดสอบก่อนเรียน

  1. ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  2. พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  3. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  4. การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  5. เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร


-  อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
       พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก  เมื่อครูทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูสามารถบอกได้ว่าเด็กๆนั้นมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง และที่สำคัญครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร


                                                        * การทำงานของสมอง

                                การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่มาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน

* พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร ?

                        ร่างกายจะรับรู้    แล้วส่งความรู้สึกไปยังสมอง   (พัฒนาการสมอง )   ส่งผลต่อพัฒนาการสติปัญญาทำให้เกิดการเรียนรู้

  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  1. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของเพียเจต์
              พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

        1.1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น หรือที่เรียกว่า  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง
        1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
        1.3ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ 
        1.4ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


        2.ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของบรูเนอร์

                        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
         3. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของไวกอตสกี้

                                    ความสามารถของเด็กจะดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม

  • การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
                     การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์   ทุกคนล้วนมีการเรียนรู้เพื่อให้เราอยู่รอด สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
                  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ  ตา - ดู  หู - ฟัง     จมูก - ดมกลิ่น  ลิ้น - ชิมรส กาย - สัมผัส   ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     มากยิ่งขิ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

                                                   

                                                            

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ พัฒนาการทางสติปัญญา
-อาจารย์และนักศึกษาร่วมท่องคำคล้องจอง  ( หน้า กลาง หลัง  ,  เล็ก ใหญ่  ) พร้อมให้ดัดแปลงคำคลองจองสำหรับนับเลขคณิตศาสตร์
-นักศึกษาเลขที่ 4 - 6 นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การดัดแปลงเพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการนับเลข
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
    นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจค่าตัวเลข โดยใช้คำคล้องจองหรือสื่ออื่นๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด  เมื่อทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม


บรรยากาศในการเรียน :


วัสดุอุปกรณ์พร้อม เนื่องจากอาคารมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และชอบที่ได้ร้องเพลงคำคล้องจอง
  • เพื่อน :  เพื่อนร้องเพลงคำคล้องจองอย่างสนุกสนานและมีท่าประกอบด้วย
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำคำคล้องจองมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้

สรุปโทรทัศน์ครู


สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปจากเรื่อง : การใช้หุ่นมือ - Early Years : Using Puppets
จากที่ดิฉันได้ดูทรทัศน์ครู ทำให้ได้รู้ว่าปฐมวัยมีความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ โดยสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี โดยครูผู้สอนเริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดี หรือฝึกหน้ากระจกก่อนนำไปสอนเด็ก ๆ
และดิฉันได้เห็นปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ที่มีต่อหุ่นกระบอกที่ครูนำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สทเป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะด้านการนับเลข และต้องการให้เด็ก ๆ ช่วยสอนวิธีนับ นี้ถือเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสอนเด็ก
หุ่นกระบอกถือเป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่น การใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการ และการสื่อสาร


การนำไปประยุกต์ใช้
- การใช้หุ่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเป็นเรื่องดีมาก เพราะใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนทำให้เด็กกล้าแสดงออก และมีความสนใจในการทำกิจกรรม ดังนั้นในการจัดกิจกรรมเราควรที่จะประดิษฐ์สื่อให้ดีและดึงดูงความสนใจให้เด็กรู้สึกอยากเล่น
- การใช้หุ่นมือมาช่วยในการเรียน การเล่านิทาน หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน จากการที่ดูวิดีโอไปแล้ว เราสามารถนำไปปฎิบัติ หรือนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริง
- การจัดกิจกรรมการใช้หุ่นมือบูรณาการเรียนการสอนได้ทุกเรื่อง เช่นคณิตศาสตร์การใช้ชีวิตประจำวัน
- การใช้หุ่นมือสามารถนำไปเป็นขั้นนำก่อนการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ดีเลย เพราะหุ่นมือถือเป็นสื่อและตัวกระตุ้นทำให้เกิดเกิดการอยากรู้อยากเห็นอยากที่จะสัมผัส การที่เด็กอยากนี้ถือเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2 วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • ความหมายของคณิตศาสตร์ :  เป็นวิชาว่าด้วยการคำนวณ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อทุกสาขาอาชีพ เด็กจะใช้คณิตจากการคิดการสังเกตของตนแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ
  • ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ : เป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กรู้จักปัญหามีความสามารถในการคิดคำนวณอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกต เปลี่ยนการจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับง่ายไปหายาก ช่วยให้เด็กคิด ทำความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
  • ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ : คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาใน
    ชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้า
    การบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย : เป็นกระบวณการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถต่างๆตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ โดยเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่ครูจัดขึ้น
                                                   


- อาจารย์พูดถึงกระบวนการสอนในการใช้กับเด็กทางคณิตศาสตร์ พูดถึงตัวเลขว่าสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเราในเรื่องอะไรได้บ้าง โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเลขของเพื่อน เช่น ตัวเลขมี 345, 158 ,48 ,50 เป็นต้น

        จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนมาเฉลยคำตอบ.....345 คือเลขที่บ้าน /158 คือส่วนสูง / 48 คือน้ำหนัก / 50 คืออายุ เป็นต้น


วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ ความหมายของคณิตศาสตร์ ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 4 คน และตั้งชื่อกลุ่ม พร้อมทั้งแจกใบความรู้ ใครได้หมายเลขเดียวกันจับกลุ่มใหม่เพื่อไปศึกษาใบความรู้ด้วยตนเองและอภิปรายในกลุ่มเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสอนที่กลุ่มเดิม
-นักศึกษานำความรู้ที่ได้กลับมาสอนเพื่อนที่กลุ่มจนครบ และสรุปองค์ความรู้เป็นกลุ่ม 
-ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้
-เล่นเกมทายตัวเลขโดยใช้ตัวเลขที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

ทักษะที่ได้:
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเราสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  เราสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมีความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกันพร้อมทั้งยังพัฒนาความรู้จากแหล่งเครือข่ายที่สร้างไว้
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น เราสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับรายวิชาอื่นได้
- การวิเคราะห์ตัวเลข  การวิเคราะห์ตัวเลข นั้นเราสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเลขได้  ตัวเลขใช้แทนได้หลายอย่าง เช่น  114  แทน เลขที่บ้าน(ลำดับบ้านหลังที่ ) หรือดูราคาสินค้า เป็นต้น

การประยุกต์ใช้  :
  นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจค่าตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด จะทำให้เราได้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ตรงตามความต้องการของเด็ก และนำมาใช้กับตัวเอง คือ การวางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการซื้อสินค้าต่างๆ 

บรรยากาศในการเรียน :
วัสดุอุปกรณ์ไม่พร้อม เนื่องจากอาคารมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และตั้งใจตอบคำถาม
  • เพื่อน :  ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย และให้ความร่วมมือดีตั้งใจฟังคำสั่งในการทำกิจกรรมกลุ่ม
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำกิจกรรมทายตัวเลขมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าตัวเลขเกี่ยวข้องกับเรา

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


สรุปบทความ



ชื่อบทความ : “เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์”
โดย : ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)


“เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์”


1.ใช้การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก ซึ่งจะสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร

2.สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะอ่านโจทย์เลขไม่ได้ ซึ่งจะอ่านไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าโจทย์ถามอะไร หมายความอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์ไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการคิดเลขด้วย ซึ่งเราจะใช้วิธีการทางกราฟิกเข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา

3.ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เราอาจจะสอนเด็กด้วยการปั้นหุ่นยนต์ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์เป็นดินน้ำมันหรือแป้งโด กระดาษ จากนั้นคุณครูอาจบอกว่า มีแป้งโดกับกระดาษ และถ้านำของสองสิ่งนี้ไปวางที่ประตูแล้วมีลมพัดมา นักเรียนคิดว่าระหว่างแป้งโดกับกระดาษอะไรจะปลิวไป นักเรียนที่มีปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรหนักหรือเบากว่ากัน ลักษณะการสอนเช่นนี้เป็นการสอนเปรียบเทียบและต้องสอนต่อว่าถ้ากระดาษปลิวเพราะอะไร

4.การอ่านการ์ตูน เราต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพการ์ตูนและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

5.การเล่นบทบาทสมมติ อาจจะให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม จากนั้นให้เพื่อนออกมาหน้าชั้นเรียนอีก 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม จากนั้นเด็กก็จะเริ่มแจกจนหนังสือหมด แล้วเด็กจะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร

6.เกม ซึ่งจะใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า

    การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว
       

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมใช้กับเด็กได้จริง
- ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราเราไม่ควรที่จำเป้นต้องใช้เวลานานเกินไป แค่เวลาน้อย แต่ทำให้เด็กสนุกและเข้าใจในกิจกรรมนั้นก็ถือได้ว่าเด็กได้รับการเรียนรู้แล้ว
- หากกิจกกรรมนี้ไปใช้กับเด็กเล็กอาจจะใช้ได้บางกิจกรรมดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมหลากหลายมากขึ้น
- สื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการเด็กอย่างหนึ่ง ดังนั้ควรเลือกสื่อที่มีสีสันสดใสสวยงาม จะทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการที่จะอยากเข้าไปจับไปเล่น
- การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว



สรุปงานวิจัย









ชื่องานวิจัย   การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Construction of picture books for preparing mathematics readiness of preschoolers


ผู้ทำการวิจัย กัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์


บทที่ 1 บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
จากความสําคัญของคณิตศาสตร์ หนังสือ และสภาพปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูที่สอนในระดับปฐมวัย ได้มองเห็นปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กชั้นอนุบาลในภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งการเรียนแบบท่องจําไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ดังนั้นหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จึงเป็นสื่อกึ่งรูปธรรม ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนา และเตรียมความพร้อมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียน บ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูนขึ้นเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยความสนใจสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่คงทน มีความแม่นยําใน การเชื่อมโยงกันระหว่างตัวเลขและจํานวน รู้จักค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพราะการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในระดับปฐมวัย มีความสําคัญเป็นอย่างมาก หากเด็กมีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยที่ไม่ดี ก็จะทําให้เด็กไม่รู้จักตัวเลขและไม่รู้ค่าของตัวเลข ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป โดยหนังสือภาพทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยวางรากฐานให้เด็กได้มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
3. ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ


ขอบเขตของการศึกษา

1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เนื้อหา เนื้อหาที่นํามาสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม


ประโยชน์ที่ได้รับ


1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม

2. ได้แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 12 แผน

3. ได้แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0- 9 จํานวน 10 ชุด

4. ได้แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด

5. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย



บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษา และค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและตําราต่างๆ พร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ
1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

2. ความหมายของคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

3. ความมุ่งหมาย จดมุ่งหมาย และทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

4. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา

5. หลักการสอนคณิตศาสตร์

6. การวัดและประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

7. ความรู้เกี่ยวกับหนังสือสําหรับเด็ก

8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆประการที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความเข้าใจที่คงทน เช่น การเอาใจใส่ของครูผู้สอน ครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการวัดผลและประเมินผล บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เด็กสนใจ และสามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนั้นการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีส่วนสําคัญที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ซึ่งการสร้างหนังสือภาพ จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพราะเด็กปฐมวัยยังอ่านหนังสือไม่ได้จึงชอบอ่านหนังสือที่เป็นหนังสือภาพ และภาพที่ใช้ในการสร้างหนังสือก็เป็นภาพที่เด็กรู้จักและคุ้นเคยในชีวิตประจําวันอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ผ่านภาพประกอบและตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในหนังสือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้เด็กได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจะช่วยทําให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กต่อสิ่งนั้นๆว่า เด็กมีความคิดเห็นอยู่ในระดับใด


บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัย โดยกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
2.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2.2. แผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน
2.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
2.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จำนวน 1 ชุด
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
3.2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ม3.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน10 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยลักษณะของแบบทดสอบ มี 5 แบบ คือ โยงเส้นจับคู่จํานวนกับตัวเลข นับภาพและวงกลมตัวเลข ระบายสีภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข นับภาพแล้วเติมตัวเลข และวาดภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข
3.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
ความคิดเห็น มาก มีค่าระดับ 3
ความคิดเห็น ปานกลาง มีค่าระดับ 2
ความคิดเห็น น้อย มีค่าระดับ 1
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการดําเนินกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดําเนินไปอย่างราบรื่น
4.2. ดําเนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 12 แผน 4.3. เมื่อผู้ศึกษาทําการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณจนครบทั้ง 12 แผนและให้เด็กปฐมวัยทำแบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์จนครบทั้งหมด 10 ชุดแล้ว จึงให้เด็กตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ โดยผู้ศึกษาจะเป็นผู้อ่านคําถามแต่ละข้อให้เด็กฟังแล้วให้เด็กทําการตอบคําถามโดยการเช็คเครื่องหมายถูกลงในช่องคะแนนที่กําหนดให้
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ แล้วนําผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน จากนั้นนําเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยาย
5.2. นําคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนําคะแนนที่ได้ในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย แล้วนํามาเทียบกับเกณฑ์การแปลผล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
6.1. การหาค่าความตรง (Validity) ดัชนีความสอคล้อง (เครื่องมือ) นวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติ IOC



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าตัวเลข 0 - 9 ซึ่งทุกคนผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่กําหนดไว้
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาพทั้งสามด้านในภาพรวมอยูในระดับความคิดเห็นมาก โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ด้านรูปแบบของหนังสือ ประกอบด้วย ขนาดของหนังสือ ความแข็งแรงของอยู่ในระดับมาก ด้านตัวเลข ประกอบด้วย ขนาดของตัวเลข รูปแบบของตัวเลข อยู่ในระดับมาก ด้านรูปภาพ ประกอบด้วย ขนาดของภาพ สีสันของภาพ รูปแบบของภาพ ความน่าสนใจของภาพ รูปภาพสามารถสื่อความหมายถึงตัวเลขได้ รูปภาพสอดคล้องกับสิ่งที่เห็นในชีวิตประจําวัน อยู่ในระดับมาก



บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการเตรียม ความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังใช้หนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน แผนละ 60 นาที
3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพจํานวน 10 ชุด
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด


สรุปผลการศึกษา
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จํานวน 18 คน โดยรวม อยู่ในระดับ มาก


อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน หลังเรียนนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 โดยมีคะแนนร้อยละ 93.39



การนำไปประยุกต์ใช้
จากที่ดิฉันได้อ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่ศึกษานี้ไปใช้ได้จริงโดยเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย ควรคํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคลของเด็ก ควรจัดหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด และความเข้าใจ
ที่คงทน


งานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้นำไปปรับใช้กับรูปแบบการจัดกิจกรรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ และสร้างหนังสือที่เหมาะกับเด็กอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

  • อาจารย์ได้แนะนำรายละเอียดของแนวการเรียนการสอน พร้อมทั้งถามถึงประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ
  • อาจารย์ได้แนะนำแนวทางในการบันทึกอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียน โดยการสร้างบล็อก
  • ข้อตกลงในชั้นเรียน
  •  แนวทางการปฏิบัติที่คาดหวัง มี 6 ด้าน

แนวทางการปฏิบัติที่คาดหวัง มี 6 ด้าน 
1.คุณธรรมจริยธรรม
2.ความรู้ตัวสาระเนื้อหา
3.ทักษะทางปัญญา
4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.ทักษะทางตัวเลขประมวลสารสนเทศ
6.ทักษะของการจัดการการเรียนรู้


  • สรุปองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้โปรแกรม Mind Map
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งแยกออก 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

1.การจัดประสบการณ์ 
- ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง และครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้

2. คณิตศาสตร์
- ค่าของจำนวน เช่น 1-10
- การบวก ลบ คูณ หาร
- ความหมายของคณิตศาสตร์
- ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- แนวคิด คือ แนวคิดของนักการศึกษา เช่น แนวคิดเกี่ยวกับสติปัญญา ของเพียเจท์
- ทฤษฎี คือ เป็นที่ยอมรับและเผยแพร่กันทั่วโลก ซึ่งนำมาเป็นแนวทางในการสอนของครู
- หลักการคิด

3. เด็กปฐมวัย
- พัฒนาการ (เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลและ ความต้องการ )
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ  ตา - ดู  หู - ฟัง     จมูก - ดมกลิ่น  ลิ้น - ชิมรส กาย - สัมผัส   ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     มากยิ่งขิ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

พัฒนาการ คือ
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และจะสะท้อนถึงความสามารถของเด็กว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุตามวุฒิภาวะ





วิธีการสอน :
-การระดมความคิด ดิฉันได้คิดและทำให้ทราบถึงประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ใช้โปรแกรม Mind Map เพื่อให้นักศึกษาสรุปใจความสำคัญได้
-ใช้สื่อออนไลน์
-ใช้คำถามปลายเปิด เช่น *หนูนึกถึงอะไร* เพื่อให้เด็กกล้าถามมากขึ้น

ทักษะที่ได้:
- การคิด
- การตอบคำถาม
- การสรุปองค์ความรู้ด้วย Mind Map

การประยุกต์ใช้ :
- การคิดและการตอบคำถาม สามารถนำความรู้ที่ได้จากแนวการสอนไปปรับใช้กับเด็กได้ เช่น การใช้คำถามปลายเปิด *หนูนึกถึงอะไร* เพื่อให้เด็กกล้าคิดกล้าตอบถามมากขึ้น
- จากที่ได้รู้แนวการเรียนการสอน ทำให้ดิฉันสามารถไปเตรียมความพร้อม และรู้ว่าต้องเตรียมตัวเรียนอย่างไร
- จากแนวการเรียนการสอนทำให้ได้รู้ว่าในรายวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาอะไรบ้าง เราสามารถศึกษามาก่อนได้
- จากที่ได้ฝึกสรุปองค์ความรู้ด้วย Mind Map ทำให้เป็นดิฉันสามารถสรุปจับใจความได้และสามารถนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้

บรรยากาศในการเรียน :
  เพื่อนๆมาน้อย บรรยากาศเงียบเหงา แต่อาจารย์ก็สอนสนุกค่ะ  อุปกรณ์ครบครันค่ะ


กาาประเมินผล
  • ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
  • เพื่อน :  ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
  • อาจารย์  อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง