วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  ทดสอบก่อนเรียน

  1. ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  2. พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  3. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  4. การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  5. เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร


-  อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
       พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก  เมื่อครูทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูสามารถบอกได้ว่าเด็กๆนั้นมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง และที่สำคัญครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร


                                                        * การทำงานของสมอง

                                การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่มาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน

* พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร ?

                        ร่างกายจะรับรู้    แล้วส่งความรู้สึกไปยังสมอง   (พัฒนาการสมอง )   ส่งผลต่อพัฒนาการสติปัญญาทำให้เกิดการเรียนรู้

  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  1. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของเพียเจต์
              พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

        1.1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น หรือที่เรียกว่า  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง
        1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
        1.3ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ 
        1.4ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


        2.ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของบรูเนอร์

                        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
         3. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของไวกอตสกี้

                                    ความสามารถของเด็กจะดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม

  • การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
                     การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์   ทุกคนล้วนมีการเรียนรู้เพื่อให้เราอยู่รอด สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
                  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ  ตา - ดู  หู - ฟัง     จมูก - ดมกลิ่น  ลิ้น - ชิมรส กาย - สัมผัส   ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     มากยิ่งขิ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

                                                   

                                                            

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ พัฒนาการทางสติปัญญา
-อาจารย์และนักศึกษาร่วมท่องคำคล้องจอง  ( หน้า กลาง หลัง  ,  เล็ก ใหญ่  ) พร้อมให้ดัดแปลงคำคลองจองสำหรับนับเลขคณิตศาสตร์
-นักศึกษาเลขที่ 4 - 6 นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การดัดแปลงเพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการนับเลข
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
    นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจค่าตัวเลข โดยใช้คำคล้องจองหรือสื่ออื่นๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด  เมื่อทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม


บรรยากาศในการเรียน :


วัสดุอุปกรณ์พร้อม เนื่องจากอาคารมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และชอบที่ได้ร้องเพลงคำคล้องจอง
  • เพื่อน :  เพื่อนร้องเพลงคำคล้องจองอย่างสนุกสนานและมีท่าประกอบด้วย
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำคำคล้องจองมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น