วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย









ชื่องานวิจัย   การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Construction of picture books for preparing mathematics readiness of preschoolers


ผู้ทำการวิจัย กัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์


บทที่ 1 บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
จากความสําคัญของคณิตศาสตร์ หนังสือ และสภาพปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูที่สอนในระดับปฐมวัย ได้มองเห็นปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กชั้นอนุบาลในภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งการเรียนแบบท่องจําไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ดังนั้นหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จึงเป็นสื่อกึ่งรูปธรรม ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนา และเตรียมความพร้อมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียน บ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูนขึ้นเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยความสนใจสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่คงทน มีความแม่นยําใน การเชื่อมโยงกันระหว่างตัวเลขและจํานวน รู้จักค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพราะการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในระดับปฐมวัย มีความสําคัญเป็นอย่างมาก หากเด็กมีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยที่ไม่ดี ก็จะทําให้เด็กไม่รู้จักตัวเลขและไม่รู้ค่าของตัวเลข ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป โดยหนังสือภาพทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยวางรากฐานให้เด็กได้มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
3. ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ


ขอบเขตของการศึกษา

1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เนื้อหา เนื้อหาที่นํามาสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม


ประโยชน์ที่ได้รับ


1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม

2. ได้แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 12 แผน

3. ได้แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0- 9 จํานวน 10 ชุด

4. ได้แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด

5. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย



บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษา และค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและตําราต่างๆ พร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ
1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

2. ความหมายของคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

3. ความมุ่งหมาย จดมุ่งหมาย และทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

4. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา

5. หลักการสอนคณิตศาสตร์

6. การวัดและประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

7. ความรู้เกี่ยวกับหนังสือสําหรับเด็ก

8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆประการที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความเข้าใจที่คงทน เช่น การเอาใจใส่ของครูผู้สอน ครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการวัดผลและประเมินผล บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เด็กสนใจ และสามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนั้นการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีส่วนสําคัญที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ซึ่งการสร้างหนังสือภาพ จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพราะเด็กปฐมวัยยังอ่านหนังสือไม่ได้จึงชอบอ่านหนังสือที่เป็นหนังสือภาพ และภาพที่ใช้ในการสร้างหนังสือก็เป็นภาพที่เด็กรู้จักและคุ้นเคยในชีวิตประจําวันอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ผ่านภาพประกอบและตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในหนังสือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้เด็กได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจะช่วยทําให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กต่อสิ่งนั้นๆว่า เด็กมีความคิดเห็นอยู่ในระดับใด


บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัย โดยกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
2.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2.2. แผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน
2.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
2.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จำนวน 1 ชุด
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
3.2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ม3.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน10 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยลักษณะของแบบทดสอบ มี 5 แบบ คือ โยงเส้นจับคู่จํานวนกับตัวเลข นับภาพและวงกลมตัวเลข ระบายสีภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข นับภาพแล้วเติมตัวเลข และวาดภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข
3.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
ความคิดเห็น มาก มีค่าระดับ 3
ความคิดเห็น ปานกลาง มีค่าระดับ 2
ความคิดเห็น น้อย มีค่าระดับ 1
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการดําเนินกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดําเนินไปอย่างราบรื่น
4.2. ดําเนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 12 แผน 4.3. เมื่อผู้ศึกษาทําการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณจนครบทั้ง 12 แผนและให้เด็กปฐมวัยทำแบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์จนครบทั้งหมด 10 ชุดแล้ว จึงให้เด็กตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ โดยผู้ศึกษาจะเป็นผู้อ่านคําถามแต่ละข้อให้เด็กฟังแล้วให้เด็กทําการตอบคําถามโดยการเช็คเครื่องหมายถูกลงในช่องคะแนนที่กําหนดให้
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ แล้วนําผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน จากนั้นนําเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยาย
5.2. นําคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนําคะแนนที่ได้ในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย แล้วนํามาเทียบกับเกณฑ์การแปลผล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
6.1. การหาค่าความตรง (Validity) ดัชนีความสอคล้อง (เครื่องมือ) นวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติ IOC



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าตัวเลข 0 - 9 ซึ่งทุกคนผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่กําหนดไว้
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาพทั้งสามด้านในภาพรวมอยูในระดับความคิดเห็นมาก โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ด้านรูปแบบของหนังสือ ประกอบด้วย ขนาดของหนังสือ ความแข็งแรงของอยู่ในระดับมาก ด้านตัวเลข ประกอบด้วย ขนาดของตัวเลข รูปแบบของตัวเลข อยู่ในระดับมาก ด้านรูปภาพ ประกอบด้วย ขนาดของภาพ สีสันของภาพ รูปแบบของภาพ ความน่าสนใจของภาพ รูปภาพสามารถสื่อความหมายถึงตัวเลขได้ รูปภาพสอดคล้องกับสิ่งที่เห็นในชีวิตประจําวัน อยู่ในระดับมาก



บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการเตรียม ความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังใช้หนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน แผนละ 60 นาที
3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพจํานวน 10 ชุด
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด


สรุปผลการศึกษา
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จํานวน 18 คน โดยรวม อยู่ในระดับ มาก


อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน หลังเรียนนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 โดยมีคะแนนร้อยละ 93.39



การนำไปประยุกต์ใช้
จากที่ดิฉันได้อ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่ศึกษานี้ไปใช้ได้จริงโดยเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย ควรคํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคลของเด็ก ควรจัดหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด และความเข้าใจ
ที่คงทน


งานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้นำไปปรับใช้กับรูปแบบการจัดกิจกรรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ และสร้างหนังสือที่เหมาะกับเด็กอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น