วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15 วันพุธ ที่ 1พฤกษาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 1พฤกษาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
   
   อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายในเนื้อหารายวิชา

*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

*สาระที่ควรเรียนรู้

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

*หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

*ศาสตร์ความรู้ในการบูรณาการ
  1. คณิตศาสตร์                        
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษา
  4. สังคม
  5. ศิลปะ
  6. สุขศึกษา
  7. พลศึกษา

  • คณิตศาสตร์    วิทยาศาสตร์   และภาษา จะพัฒนาเด็กในด้าน สติปัญญา
  • สังคม  จะพัฒนาเด็กในด้าน สังคม  
  • ศิลปะ   จะพัฒนาเด็กในด้าน อารมณ์และจิตใจ
  • สุขศึกษา และพลศึกษา   จะพัฒนาเด็กในด้าน ร่างกาย
                จะเห็นได้ว่าการสอนแบบบูรณาการนั้นจะสามารถพัฒนาเด็กได้อย่างครบองค์รวม คือการ พัฒนาเด็กอย่างรอบด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปํญญา

* การบูรณาการกับ6กิจกรรมหลัก
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมกลางแจ้ง
5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
6.เกมการศึกษา

  • เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง
                   *นิทาน
                   *เพลง
                   *เกม  
                                             (เกมการศึกษา เช่น โดมิโน จับคู่ ภาพตัดต่อ เรียงลำดับ 
                                               เกมรถไฟ เกมความสัมพันธ์สองแกน พื้นฐานการบวก )
                   *คำคล้องจอง
                   *ปริศนาคำทาย
                   *บทบาทสมมุติ
                   *แผนภูมิภาพ
                   *การประกอบอาหาร
                   *กิจวัตรประจำวัน
                   *และอื่นๆ เช่น  การพับกระดาษ  ไปตลาด เป็นต้น


*ขั้นตอนการจัดประสบการณ์
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป

*การประเมิน
     การสังเกตและสนทนานั้นจะใช้แบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการประเมินส่วน ชิ้นงานจะมีเครื่องมือคือแบบประเมิน

 *ครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างไร
         ~สารสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง

*ครอบครัวทำอย่างไร
        ~ สอนลูกนับสิ่งของในบ้าน
        ~หัดบวกเลขทะเบียนรถยนต์
         ~เด็กไปตลาด..ซื้อจ่ายด้วยตนเอง(นับเงินทอน)
        

วิธีการสอน :

-อาจารย์และนักศึกษาระดมความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน


ทักษะที่ได้:

-การระดมความคิด
-อภิปราย
-การถามตอบ

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจและเด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด 


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอภิปรายความรู้
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่ทำให้เข้าใจเนื้อ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2558

มีการเรียนการสอนชดเชย



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :


  • นักศึกษาสรุปประเด็นความรู้

          ประเด็นประเด็นที่อาจารย์สรุปให้





วิธีการสอน :
-ให้นักศึกาาทำแบบประเมินความรู้


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง


การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
          สบาย บรรยากาศดี
กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ : ใช้คำถามที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

นักศึกษาฝึกการสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เรื่อง ปลา
ขั้นนำ
  1. ร้องเพลงปลา (เพลงต้องมีรูปภาพประกอบ)
  2. ถามเด็กว่ามีปลาชนิดใดบ้างในเนื้อเพลง  (ครูเขียนmindmap ตามที่เด็กบอก)
  3. ถามเด็กรู้จักปลาชนิดใดบ้างนอกจากในเนื้อเพลง  (ครูเขียนmindmap ตามที่เด็กบอก)
ขั้นสอน
  1. นำอุปกรณ์มาวางไว้บนโต๊ะ  แล้วถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าในภาชนะนี้มีอะไร..............
  2. ครูหยิบสื่อออกมาพร้อมพูดว่าเป็นอะไร และนำติดบนกระดานหรือวางเรียงบนโต๊ะ
  3. ถามเด็กว่ามีจำนวนเท่าไหร่  (เมื่อเด็กนับเสร็จเขียนจำนวนทั้งหมดลงใต้ตัวเลขตัวสุดท้ายเพื่อบอกจำนวนทั้งหมดและบอกลำดับของตัวเลข)
  4. ให้เด็กแยกกลุ่มปลาต่างชนิด แล้วเปรียบเทียบจำนวน ถามว่ากลุ่มใดมากกว่าน้อยกว่า
  5. หาคำตอบด้วยการจับคู่  1 ต่อ 1 เมื่อกลุ่มใดหมดก่อนอีกกลุ่มหนึ่งแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า และกลุ่มที่เหลือแสดงว่ามากกว่าอีกกลุ่ม
ขั้นสรุป
  1. ถามเด็กจำปลาอะไรได้บ้าง  (ชี้รูปภาพที่เด็กตอบ)
  2. ร้องเพลงอีกรอบ 

วิธีการสอน :


-ให้นักศึกษาฝึกการสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์


ทักษะที่ได้:

-เทคนิกการสอนที่ถูกต้อง
-การใช้คำถามกระตุ้นความคิดของเด็ก


การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
            โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม  มีแสงสว่างพอดี

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง :กล้าแสดงออก ตั้งใจฝึกสอน
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการฝึกสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงไม่ดังและเบามากเกินไป สอนได้เข้าใจง่าย อธิบายอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 วันพุธ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
     
  •    การออกแบบกิจกรรม 
*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

*สาระที่ควรเรียนรู้

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

*หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

*ประสบการณ์สำคัญ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

*ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

*ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

*วิธีการสอน
-มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
-ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

วิธีการสอน :

-นักศึกษาระดมความคิดเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-สรุปความคิดรวบยอดโดยใช้ mindmap


ทักษะที่ได้:

-การระดมความคิด

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด แต่อากาศหนาว (ฝนตก)


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจเขียนแผนการจัดประสบการณ์
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่ทำให้เข้าใจเนื้อหาการเขียนแผนการสอน

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 วันพุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
          1.อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนทำกิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ
โดยมีอุปกรณ์คือ   ไม้  และใช้ดินน้ำมันเปนตัวเชื่อม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ 
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
  • ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ฃ

         2.ความรู้จากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

วิธีการสอน :

-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
-นักศึกษานำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
-นักศึกษา นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
- เลขที่ 2 นำเสนอบทความ
- เลขที่ 25 และ 26 นำเสนอโทรทัศน์

ทักษะที่ได้:

-การนำเสนอ กลาแสดงออก
-การอภิปรายถาม ตอบ
-ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้ : 
          นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในการเรียน :
          มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์
ในการเรียนการสอนครบการ


ประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมากขึ้น
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม พร้อมนำเสนอได้ดี
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี มีวิธีการสอนที่สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน


วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558
เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :
         อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสต์ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3  เรขาคณิต
สาระที่4. พีชคณิต
สาระที่5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6. ทักษะและกระบวณการทางคณิตศาสตร์


วิธีการสอน :
- เลขที่22  นำวิจัยมานำเสนอ
- เลขที่1 และ 3 นำเสนอบทความ
           เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
           เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
- เลขที่3 25 และ 26
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
            เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
            เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้:
       - การกล้าแสดงออก
       - การใช้ภาษา
       - การคิดจินตนาการ

การประยุกต์ใช้ :
-เราสามารถนำนิทาน เพลง คำคล้องจอง. เพื่อใช้สอนเด็กให้เด็กได้คิดและจินตนากรได้ อีกทั้งตัวเราก็ได้ทักษะในการคิดคือได้แต่งนิทาน หรือสื่ออื่นจึงเป็นการฝึกฝนตัวเองด้วยคะ

บรรยากาศในการเรียน :
  เพื่อนๆมาน้อย บรรยากาศเงียบเหงา

กาาประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน : มีความรับผิดชอบงานมากขึ้น ไม่วุ่นวาย
อาจารย์ :อาจารย์ใช้น้ำเสียงดี แต่งกายสุภาพ

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8 วันพุธ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558


                                            

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
. วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

1.การสอนแบบโครงการ
                การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
   .   โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussio)สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น
          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย
        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
       เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง
        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน
        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ

วิธีการสอน :
-อาจารย์สอนกิจกรรมการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
- นักศึกษานำเสนอ การสอนแบบโครงการ
-นักศึกษาเลขที่ 21 นำบทความมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
-นักศึกษานำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้:
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น
-การหาความรู้นอกห้องเรียนจากการหากิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์เพื่อการนำเสนอในห้องเรียน.
-การกล้าแสดงออกในการนำเสนอ
-ทักษะการพูด

การประยุกต์ใช้  :
       สามารถนำกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากที่สุดทั้งยังมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก


บรรยากาศในการเรียน :
         วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม    โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย

กาาประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และมีความรับผิดชอบในการหากิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์มานำเสนอ
เพื่อน :เพื่อนมาเรียนน้อยยังไม่มีความกะตือรือร้นหาความรู้เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน
อาจารย์ : อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ทั้งยังให้นักศึกษาได้พูดได้แสดงออกมากขึ้น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างดี


********************************************
เพลง บวก ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ
ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ
ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ
หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ
ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ

      
เพลง เท่ากัน ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา.               ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา.         สองขา ต่างกัน
ช้าง ม้า มี                 สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น.            ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด..........ใบวางอยู่บนกำแพง
*ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือขวด1ใบ
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว.  ปูหนีบที่หัวแม่มือ
                                         
*****************************************

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


            กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
            มาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน มีดังนี้

สาระที่ ๑ : จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนใน ชีวิตจริง
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง
ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้

สาระที่ ๒ : การวัด

มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค ๒.๓ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้

สาระที่ ๓ : เรขาคณิต 

มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลอง
ทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ ๔: พีชคณิต 

มาตรฐาน ค ๔.๑ อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค ๔.๒ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง
ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

สาระที่ ๕ : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 

มาตรฐาน ค ๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค ๕.๒ ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้

สาระที่ ๖ : ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๖.๒ มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค ๖.๓ มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค ๖.๔ มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
มาตรฐาน ค ๖.๕ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-อาจารย์ได้สอนเนื้อหา
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ 
  1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
  2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
  3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
  4. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบSTEM
  5. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
  6. รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

****รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ****
                    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ เป็นการเอาศาสตร์แต่ละอย่างมารวมกันซึ่งเกิดจากความสนใจและเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ และมีทักษะเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้    

                    ความสำคัญการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ  นำความรู้และทักษะจากหลายๆศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้  (เกิดความรู้ใหม่)


                                                     ศาสตร์ความรู้ในการบูรณาการ
  1. คณิตศาสตร์                        
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษา
  4. สังคม
  5. ศิลปะ
  6. สุขศึกษา
  7. พลศึกษา

  • คณิตศาสตร์    วิทยาศาสตร์   และภาษา จะพัฒนาเด็กในด้าน สติปัญญา
  • สังคม  จะพัฒนาเด็กในด้าน สังคม  
  • ศิลปะ   จะพัฒนาเด็กในด้าน อารมณ์และจิตใจ
  • สุขศึกษา และพลศึกษา   จะพัฒนาเด็กในด้าน ร่างกาย
                จะเห็นได้ว่าการสอนแบบบูรณาการนั้นจะสามารถพัฒนาเด็กได้อย่างครบองค์รวม คือการ พัฒนาเด็กอย่างรอบด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปํญญา
                     
วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์ รูปแบบต่างๆ
-นักศึกษาเลขที่ 17 นำโทรทัศน์ครูมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิด ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์ รูปแบบต่างๆไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
            โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม  มีแสงสว่างพอดี

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 
  • อาจารย์ อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงไม่ดังและเบามากเกินไป สอนได้เข้าใจง่าย สั่งงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

********************************************

เพลง 1 ปี  12 เดือน 
1 ปี นั้นมี 12 เดือน  อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์ นั้นมี 7 วัน ๆ
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ลั่น ลัน ลั่น ลา


เพลง นกกระจิบ
                                              นั่นนก บินมาลิบๆ               นกกระจิบ 1 2 3 4 5
                                              อีกฝูง  บินล่องลอยมา        6 7  8  9 10  ตัว





*****************************************

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 วันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้ทดสอบก่อนเรียน

1.เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง

-อาจารย์ได้สอนเนื้อหา
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง
                   *นิทาน
                   *เพลง
                   *เกม  
                                             (เกมการศึกษา เช่น โดมิโน จับคู่ ภาพตัดต่อ เรียงลำดับ 
                                               เกมรถไฟ เกมความสัมพันธ์สองแกน พื้นฐานการบวก )
                   *คำคล้องจอง
                   *ปริศนาคำทาย
                   *บทบาทสมมุติ
                   *แผนภูมิภาพ
                   *การประกอบอาหาร
                   *กิจวัตรประจำวัน
                   *และอื่นๆ เช่น  การพับกระดาษ  ไปตลาด เป็นต้น

  • เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
             เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ นั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการใช้เทคนิคที่เด็กสนใจ เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และอยู่ในชีวิตประจำวัน ของเด็ก และเปลี่ยนเนื้อเรื่องเทคนิคให้สอคคล้องกับสาระการเรียนรู้  ซึ่งการจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และผู้ใหญ่ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ที่ดี

          สรุุป  การสอนเด็ก =  1.ยึดความสนใจเด็ก
                                           2.เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก
                                           3.อยู่ในชีวิตประจำวันเด็ก
                                           4.เปลี่ยนเนื้อเรื่องเทคนิคให้สอคคล้องกับสาระการเรียนรู้  

        *******************************

 เมื่อเด็กเรียนรู้แล้ว เด็กต้องได้สาระการเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ
ซึ่งหมายถึง ความรู้ และ ทักษะ นั่นเองค่ะ
.....................................................................


  • สี่เหลี่ยมต่อรูปอะไรได้บ้างนะ????

เกมนี้จะช่วยฝึกให้เราได้คิดและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ค่ะ 
โดยต้องให้ขอบของสี่เหลี่ยมด้านใดด้านหนึ่งติดกันนะค่ะ
* 1 สี่เหลี่ยม จะต่อได้กี่รูปนะ = ?????? 
* 2 สี่เหลี่ยม จะต่อได้กี่รูปนะ = ?????? 

* 3 สี่เหลี่ยม จะต่อได้กี่รูปนะ = ?????? 
* 4 สี่เหลี่ยม จะต่อได้กี่รูปนะ = ??????
* 5 สี่เหลี่ยม จะต่อได้กี่รูปนะ = ??????







วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ และการนำไปประยุกต์ใช้
-เกมสี่เหลี่ยมต่อรูปอะไรได้บ้างนะ????
-นักศึกษาเลขที่ 13-14 นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
       สามารถนำเทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากที่สุดทั้งยังมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก


บรรยากาศในการเรียน :

         วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม    โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และชอบที่ได้ร้องเพลงคำคล้องจอง
  • เพื่อน  เพื่อนร้องเพลงคำคล้องจองอย่างสนุกสนานและมีท่าประกอบด้วย
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำคำคล้องจองมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้

********************************************

เพลง นับนิ้วมือ


                              นี่คือนิ้วมือของฉัน                                      มือของฉันนั้นมีสิบนิ้ว
                             มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                                       มือขวาก็มีห้านิ้ว

                              นับ 1 2 3 4 5                                              นับต่อมา 6 7 8 9 10 
                              นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                                    นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ




เพลง หนึ่ง-สอง-สาม

                                          1 2 3 เป็นยามปลอด                4 5 6 ลอดรั้วออกไป 
                                          7 8 9 แดดแจ่มใส                    10  11 ไวไววิ่งไล่กัน
                                         12 13 รีบย่องกลับ                    14 15 หลับแล้วฝัน
                                         16 17 ตกเตียงพลัน                  18 19 20 นั้นฉันหัวโน


*****************************************

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5 วันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้ทดสอบก่อนเรียน

1.มาตรฐานคืออะไรเเละมีประโยชน์อย่างไร

2.สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง

3.สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียนได้อย่างไร
-อาจารย์ได้สอนเนื้อหา
  • มาตรฐานคืออะไรเเละมีประโยชน์อย่างไร 
                              มาตรฐาน คือ สิ่งที่วัดคุณภาพ โดยใช้เกณฑ์ (ขั้นต่ำ) 
          เพื่อประโยชน์คือ ควบคุมคุณภาพของสิ่งต่าง
  • สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
                                กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยคลิกที่นี่
                  1.จำนวนละการดำเนินการ = รู้ค่าจำนวน
                  2.การวัด = หาค่าเชิงปริมาณ
                  3.เรขาคณิต = รู้จักรูปทรง
                  4.พีชคณิต = เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
                  5.การวัดวิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                  6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ = รู้จักการใช้เหตุผลเเก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียนได้อย่างไร
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ : รู้ค่าจำนวน เปรียบเทียบเรียงลำดับ เข้าใจหลักการนับ
  2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา : เปรียบเทียบ เรียงลำดับ เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา
     3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต  :  ตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง
     4.มีความรู้ความเข้าแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
     5.การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอแผนภูมิอย่างง่าย
     6.มีทักษะและกระบวณการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-นักศึกษาเลขที่ 10 นำบทความมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
          นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็ก  ได้เรียนรู้ตามสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง


บรรยากาศในการเรียน :
            โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม  มีแสงสว่างพอดี

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ อาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงไม่ดังและเบามากเกินไป สอนได้เข้าใจง่าย สั่งงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

********************************************

เพลง เข้าแถว 
เข้าแถว เข้าแถว         อย่าล้ำแนว ยืนเรียงกัน 
อย่า มัวแชเชือน       เดินตาม เพื่อนให้ทัน 
ระวัง เดินชนกัน     เข้าแถวกัน ว่องไว




เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง                แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า              แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง




เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนตัวให้ตรง                            ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                       หันตัวไปทางนั้นแหละ


*****************************************

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4 วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้ทดสอบก่อนเรียน
  1. ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  3. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  4. หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็ฏปฐมวัย
-อาจารย์ได้สอนเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
  • ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
        เด็กเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 และเรียนรู้ของจริง(รูปธรรม) เด็กจะตอบตามที่เห็น
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
               เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกลบ และให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การสังเกต 
  2. การจำแนกประเภท
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การจัดลำดับ
  5. การวัด
  6. การนับ
  7. รูปทรงและขนาด
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
           ใช้สื่อที่เป็นของจริง(รูปธรรม)และน่าสนใจ ให้เด็กได้เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เด็กจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความคิด มีสังคมและรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
และกิจกรรมควรใช้เวลาไม่นาน เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการตามวัย


  • ขั้นตอนการสอน 
  1. ขั้นนำ = ร้องเพลง , คำถาม 
             -  ถามความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน เช่น ในเนื้อเพลงมีผลไม้อะไรบ้าง (ครูบันทึกที่เด้ฏตอบ)

      2.ขั้นสอน =  บูรณาการ

            - ใช้เทคนิคคำถาม เด็กจะได้ทักษะภาษา ได้สังเกต(วิทยาศาสตร์)  ได้คิด และตอบ
            - บทบาทสมมุติ (เด็กรู้จักการเลียนแบบ การปรับตัว)
            - รูปทรง ( คณิตศาสตร์)

      3.ขั้นสรุป = องค์ความรู้

           -เมื่อให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงแล้ว ครูควรจะสรุปองค์ความรู้เพื่อเป็นตะกอนความรู้ให้กับเด็กๆ

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์   จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย  ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย และหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็ฏปฐมวัย
-อาจารย์ยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับวันเกิดเพื่อน 
-นักศึกษาเลขที่ 7- 9 นำโทรทัศน์ครูมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การวิเคาะห์ตัวเลขที่มีอยู่ในเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
    นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจเรื่องเวลา  โดยใช้เกณฑ์หรือสื่ออื่นๆ  และสามารถนำขั้นตอนการสอน มาใช้เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำจริง เรียนรู้จริง

บรรยากาศในการเรียน :


โต๊ะเก้าอี้สะอาด นั่งเป็นระเบียบ  วัสดุอุปกรณ์พร้อม 

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง : มีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่เรียน เข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในงานที่อาจารย์สั่ง
  • เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความกระตือรือล้นในการเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับวันเกิดเพื่อน มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้ และอาจารย์มีความรู้ความสามารถ สามารถประยุกต์สอนนักศึกษากับเหตุการณ์ ณ  ปัจจุบันได้อย่างเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  ทดสอบก่อนเรียน

  1. ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  2. พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  3. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  4. การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  5. เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร


-  อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
       พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก  เมื่อครูทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูสามารถบอกได้ว่าเด็กๆนั้นมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง และที่สำคัญครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร


                                                        * การทำงานของสมอง

                                การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่มาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน

* พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร ?

                        ร่างกายจะรับรู้    แล้วส่งความรู้สึกไปยังสมอง   (พัฒนาการสมอง )   ส่งผลต่อพัฒนาการสติปัญญาทำให้เกิดการเรียนรู้

  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  1. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของเพียเจต์
              พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

        1.1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น หรือที่เรียกว่า  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง
        1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
        1.3ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ 
        1.4ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


        2.ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของบรูเนอร์

                        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
         3. ทฤษฎีพัฒนาการทางทางสติปัญญาของไวกอตสกี้

                                    ความสามารถของเด็กจะดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม

  • การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
                     การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์   ทุกคนล้วนมีการเรียนรู้เพื่อให้เราอยู่รอด สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
                  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ  ตา - ดู  หู - ฟัง     จมูก - ดมกลิ่น  ลิ้น - ชิมรส กาย - สัมผัส   ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     มากยิ่งขิ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

                                                   

                                                            

วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ พัฒนาการทางสติปัญญา
-อาจารย์และนักศึกษาร่วมท่องคำคล้องจอง  ( หน้า กลาง หลัง  ,  เล็ก ใหญ่  ) พร้อมให้ดัดแปลงคำคลองจองสำหรับนับเลขคณิตศาสตร์
-นักศึกษาเลขที่ 4 - 6 นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้:
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การดัดแปลงเพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการนับเลข
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

การประยุกต์ใช้  :
    นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจค่าตัวเลข โดยใช้คำคล้องจองหรือสื่ออื่นๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด  เมื่อทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม


บรรยากาศในการเรียน :


วัสดุอุปกรณ์พร้อม เนื่องจากอาคารมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และชอบที่ได้ร้องเพลงคำคล้องจอง
  • เพื่อน :  เพื่อนร้องเพลงคำคล้องจองอย่างสนุกสนานและมีท่าประกอบด้วย
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำคำคล้องจองมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าคำคล้อองจองนั้นสามารถสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้

สรุปโทรทัศน์ครู


สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปจากเรื่อง : การใช้หุ่นมือ - Early Years : Using Puppets
จากที่ดิฉันได้ดูทรทัศน์ครู ทำให้ได้รู้ว่าปฐมวัยมีความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ โดยสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี โดยครูผู้สอนเริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดี หรือฝึกหน้ากระจกก่อนนำไปสอนเด็ก ๆ
และดิฉันได้เห็นปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ที่มีต่อหุ่นกระบอกที่ครูนำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สทเป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะด้านการนับเลข และต้องการให้เด็ก ๆ ช่วยสอนวิธีนับ นี้ถือเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสอนเด็ก
หุ่นกระบอกถือเป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่น การใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการ และการสื่อสาร


การนำไปประยุกต์ใช้
- การใช้หุ่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเป็นเรื่องดีมาก เพราะใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนทำให้เด็กกล้าแสดงออก และมีความสนใจในการทำกิจกรรม ดังนั้นในการจัดกิจกรรมเราควรที่จะประดิษฐ์สื่อให้ดีและดึงดูงความสนใจให้เด็กรู้สึกอยากเล่น
- การใช้หุ่นมือมาช่วยในการเรียน การเล่านิทาน หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน จากการที่ดูวิดีโอไปแล้ว เราสามารถนำไปปฎิบัติ หรือนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริง
- การจัดกิจกรรมการใช้หุ่นมือบูรณาการเรียนการสอนได้ทุกเรื่อง เช่นคณิตศาสตร์การใช้ชีวิตประจำวัน
- การใช้หุ่นมือสามารถนำไปเป็นขั้นนำก่อนการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ดีเลย เพราะหุ่นมือถือเป็นสื่อและตัวกระตุ้นทำให้เกิดเกิดการอยากรู้อยากเห็นอยากที่จะสัมผัส การที่เด็กอยากนี้ถือเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2 วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ) :

-  อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • ความหมายของคณิตศาสตร์ :  เป็นวิชาว่าด้วยการคำนวณ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อทุกสาขาอาชีพ เด็กจะใช้คณิตจากการคิดการสังเกตของตนแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ
  • ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ : เป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กรู้จักปัญหามีความสามารถในการคิดคำนวณอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกต เปลี่ยนการจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับง่ายไปหายาก ช่วยให้เด็กคิด ทำความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
  • ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ : คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาใน
    ชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้า
    การบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย : เป็นกระบวณการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถต่างๆตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ โดยเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่ครูจัดขึ้น
                                                   


- อาจารย์พูดถึงกระบวนการสอนในการใช้กับเด็กทางคณิตศาสตร์ พูดถึงตัวเลขว่าสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเราในเรื่องอะไรได้บ้าง โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเลขของเพื่อน เช่น ตัวเลขมี 345, 158 ,48 ,50 เป็นต้น

        จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนมาเฉลยคำตอบ.....345 คือเลขที่บ้าน /158 คือส่วนสูง / 48 คือน้ำหนัก / 50 คืออายุ เป็นต้น


วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ ความหมายของคณิตศาสตร์ ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 4 คน และตั้งชื่อกลุ่ม พร้อมทั้งแจกใบความรู้ ใครได้หมายเลขเดียวกันจับกลุ่มใหม่เพื่อไปศึกษาใบความรู้ด้วยตนเองและอภิปรายในกลุ่มเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสอนที่กลุ่มเดิม
-นักศึกษานำความรู้ที่ได้กลับมาสอนเพื่อนที่กลุ่มจนครบ และสรุปองค์ความรู้เป็นกลุ่ม 
-ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้
-เล่นเกมทายตัวเลขโดยใช้ตัวเลขที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

ทักษะที่ได้:
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเราสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  เราสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมีความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกันพร้อมทั้งยังพัฒนาความรู้จากแหล่งเครือข่ายที่สร้างไว้
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น เราสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับรายวิชาอื่นได้
- การวิเคราะห์ตัวเลข  การวิเคราะห์ตัวเลข นั้นเราสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเลขได้  ตัวเลขใช้แทนได้หลายอย่าง เช่น  114  แทน เลขที่บ้าน(ลำดับบ้านหลังที่ ) หรือดูราคาสินค้า เป็นต้น

การประยุกต์ใช้  :
  นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจค่าตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด จะทำให้เราได้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ตรงตามความต้องการของเด็ก และนำมาใช้กับตัวเอง คือ การวางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการซื้อสินค้าต่างๆ 

บรรยากาศในการเรียน :
วัสดุอุปกรณ์ไม่พร้อม เนื่องจากอาคารมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์

กาาประเมินผล 
  • ตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ และตั้งใจตอบคำถาม
  • เพื่อน :  ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย และให้ความร่วมมือดีตั้งใจฟังคำสั่งในการทำกิจกรรมกลุ่ม
  • อาจารย์ อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  เช่น การนำกิจกรรมทายตัวเลขมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าตัวเลขเกี่ยวข้องกับเรา

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


สรุปบทความ



ชื่อบทความ : “เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์”
โดย : ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)


“เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์”


1.ใช้การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก ซึ่งจะสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร

2.สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะอ่านโจทย์เลขไม่ได้ ซึ่งจะอ่านไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าโจทย์ถามอะไร หมายความอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์ไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการคิดเลขด้วย ซึ่งเราจะใช้วิธีการทางกราฟิกเข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา

3.ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เราอาจจะสอนเด็กด้วยการปั้นหุ่นยนต์ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์เป็นดินน้ำมันหรือแป้งโด กระดาษ จากนั้นคุณครูอาจบอกว่า มีแป้งโดกับกระดาษ และถ้านำของสองสิ่งนี้ไปวางที่ประตูแล้วมีลมพัดมา นักเรียนคิดว่าระหว่างแป้งโดกับกระดาษอะไรจะปลิวไป นักเรียนที่มีปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรหนักหรือเบากว่ากัน ลักษณะการสอนเช่นนี้เป็นการสอนเปรียบเทียบและต้องสอนต่อว่าถ้ากระดาษปลิวเพราะอะไร

4.การอ่านการ์ตูน เราต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพการ์ตูนและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

5.การเล่นบทบาทสมมติ อาจจะให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม จากนั้นให้เพื่อนออกมาหน้าชั้นเรียนอีก 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม จากนั้นเด็กก็จะเริ่มแจกจนหนังสือหมด แล้วเด็กจะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร

6.เกม ซึ่งจะใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า

    การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว
       

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมใช้กับเด็กได้จริง
- ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราเราไม่ควรที่จำเป้นต้องใช้เวลานานเกินไป แค่เวลาน้อย แต่ทำให้เด็กสนุกและเข้าใจในกิจกรรมนั้นก็ถือได้ว่าเด็กได้รับการเรียนรู้แล้ว
- หากกิจกกรรมนี้ไปใช้กับเด็กเล็กอาจจะใช้ได้บางกิจกรรมดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมหลากหลายมากขึ้น
- สื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการเด็กอย่างหนึ่ง ดังนั้ควรเลือกสื่อที่มีสีสันสดใสสวยงาม จะทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการที่จะอยากเข้าไปจับไปเล่น
- การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว



สรุปงานวิจัย









ชื่องานวิจัย   การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Construction of picture books for preparing mathematics readiness of preschoolers


ผู้ทำการวิจัย กัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์


บทที่ 1 บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
จากความสําคัญของคณิตศาสตร์ หนังสือ และสภาพปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูที่สอนในระดับปฐมวัย ได้มองเห็นปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กชั้นอนุบาลในภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งการเรียนแบบท่องจําไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ดังนั้นหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จึงเป็นสื่อกึ่งรูปธรรม ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนา และเตรียมความพร้อมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียน บ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูนขึ้นเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยความสนใจสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่คงทน มีความแม่นยําใน การเชื่อมโยงกันระหว่างตัวเลขและจํานวน รู้จักค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพราะการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในระดับปฐมวัย มีความสําคัญเป็นอย่างมาก หากเด็กมีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยที่ไม่ดี ก็จะทําให้เด็กไม่รู้จักตัวเลขและไม่รู้ค่าของตัวเลข ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป โดยหนังสือภาพทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยวางรากฐานให้เด็กได้มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
3. ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ


ขอบเขตของการศึกษา

1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เนื้อหา เนื้อหาที่นํามาสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม


ประโยชน์ที่ได้รับ


1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม

2. ได้แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 12 แผน

3. ได้แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0- 9 จํานวน 10 ชุด

4. ได้แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด

5. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 – 9 สําหรับเด็กปฐมวัย



บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษา และค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและตําราต่างๆ พร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ
1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

2. ความหมายของคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

3. ความมุ่งหมาย จดมุ่งหมาย และทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

4. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา

5. หลักการสอนคณิตศาสตร์

6. การวัดและประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

7. ความรู้เกี่ยวกับหนังสือสําหรับเด็ก

8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆประการที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความเข้าใจที่คงทน เช่น การเอาใจใส่ของครูผู้สอน ครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการวัดผลและประเมินผล บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เด็กสนใจ และสามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนั้นการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีส่วนสําคัญที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ซึ่งการสร้างหนังสือภาพ จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพราะเด็กปฐมวัยยังอ่านหนังสือไม่ได้จึงชอบอ่านหนังสือที่เป็นหนังสือภาพ และภาพที่ใช้ในการสร้างหนังสือก็เป็นภาพที่เด็กรู้จักและคุ้นเคยในชีวิตประจําวันอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ผ่านภาพประกอบและตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในหนังสือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้เด็กได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจะช่วยทําให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กต่อสิ่งนั้นๆว่า เด็กมีความคิดเห็นอยู่ในระดับใด


บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัย โดยกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
2.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2.2. แผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน
2.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
2.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จำนวน 1 ชุด
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
3.2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ม3.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน10 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยลักษณะของแบบทดสอบ มี 5 แบบ คือ โยงเส้นจับคู่จํานวนกับตัวเลข นับภาพและวงกลมตัวเลข ระบายสีภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข นับภาพแล้วเติมตัวเลข และวาดภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข
3.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
ความคิดเห็น มาก มีค่าระดับ 3
ความคิดเห็น ปานกลาง มีค่าระดับ 2
ความคิดเห็น น้อย มีค่าระดับ 1
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการดําเนินกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดําเนินไปอย่างราบรื่น
4.2. ดําเนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 12 แผน 4.3. เมื่อผู้ศึกษาทําการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณจนครบทั้ง 12 แผนและให้เด็กปฐมวัยทำแบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์จนครบทั้งหมด 10 ชุดแล้ว จึงให้เด็กตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ โดยผู้ศึกษาจะเป็นผู้อ่านคําถามแต่ละข้อให้เด็กฟังแล้วให้เด็กทําการตอบคําถามโดยการเช็คเครื่องหมายถูกลงในช่องคะแนนที่กําหนดให้
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ แล้วนําผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน จากนั้นนําเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยาย
5.2. นําคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนําคะแนนที่ได้ในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย แล้วนํามาเทียบกับเกณฑ์การแปลผล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
6.1. การหาค่าความตรง (Validity) ดัชนีความสอคล้อง (เครื่องมือ) นวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติ IOC



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าตัวเลข 0 - 9 ซึ่งทุกคนผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่กําหนดไว้
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาพทั้งสามด้านในภาพรวมอยูในระดับความคิดเห็นมาก โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ด้านรูปแบบของหนังสือ ประกอบด้วย ขนาดของหนังสือ ความแข็งแรงของอยู่ในระดับมาก ด้านตัวเลข ประกอบด้วย ขนาดของตัวเลข รูปแบบของตัวเลข อยู่ในระดับมาก ด้านรูปภาพ ประกอบด้วย ขนาดของภาพ สีสันของภาพ รูปแบบของภาพ ความน่าสนใจของภาพ รูปภาพสามารถสื่อความหมายถึงตัวเลขได้ รูปภาพสอดคล้องกับสิ่งที่เห็นในชีวิตประจําวัน อยู่ในระดับมาก



บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการเตรียม ความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังใช้หนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน แผนละ 60 นาที
3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพจํานวน 10 ชุด
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด


สรุปผลการศึกษา
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จํานวน 18 คน โดยรวม อยู่ในระดับ มาก


อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน หลังเรียนนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 โดยมีคะแนนร้อยละ 93.39



การนำไปประยุกต์ใช้
จากที่ดิฉันได้อ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่ศึกษานี้ไปใช้ได้จริงโดยเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย ควรคํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคลของเด็ก ควรจัดหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด และความเข้าใจ
ที่คงทน


งานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้นำไปปรับใช้กับรูปแบบการจัดกิจกรรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ และสร้างหนังสือที่เหมาะกับเด็กอีกด้วย